สัมโมทนียกถา
หนังสือ บูชาคุณหลวงปู่
๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันเลิศเป็นทางดำเนินไป เพื่อความบริสุทธิของสัตว์ อธิบายว่า เราได้รับมรดกมาแล้วจากบิดามารดา กล่าวคือ ตัวของเรานี้แลอันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุส . . ซึ่งเป็นชาติสูงสุดเป็นผู้เลิศ ตั้ง (ว่า ตัง) อยู่ในฐานะอันเลิศ ด้วยดี มีกายสมบัติ วาจาสมบัติ มะโนสมบัติ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก กล่าวคือ ทรัพย์สินเงินทอง อย่างไรก็พอได้ จะสร้างสม เอาสม . . เอาสมบัต . . ภายในกล่าวคือ มรรคผลพระนิพพาน อย่างไรก็พอได้ จงสมกับคำว่ามนุส . . (ว่า ย์)
มนุษ . . เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศ ด้วยดี สามารถนำตนเข้าสู่ มรรคผล เข้าสู่พระนิพพาน อันบริสุท . . ได้
พระครูสันติวรญาณ
พระอ่ำ ธมฺมกาโม (เขียนลายมือ)
รูปภาพ [คาถาบารมีสิบทัศ อักขระขอม]
หนังสือ บูชาคุณหลวงปู่
๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันเลิศเป็นทางดำเนินไป เพื่อความบริสุทธิของสัตว์ อธิบายว่า เราได้รับมรดกมาแล้วจากบิดามารดา กล่าวคือ ตัวของเรานี้แลอันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุส . . ซึ่งเป็นชาติสูงสุดเป็นผู้เลิศ ตั้ง (ว่า ตัง) อยู่ในฐานะอันเลิศ ด้วยดี มีกายสมบัติ วาจาสมบัติ มะโนสมบัติ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก กล่าวคือ ทรัพย์สินเงินทอง อย่างไรก็พอได้ จะสร้างสม เอาสม . . เอาสมบัต . . ภายในกล่าวคือ มรรคผลพระนิพพาน อย่างไรก็พอได้ จงสมกับคำว่ามนุส . . (ว่า ย์) มนุษ . . เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศ ด้วยดี สามารถนำตนเข้าสู่ มรรคผล เข้าสู่พระนิพพาน อันบริสุท . . ได้ พระครูสันติวรญาณ พระอ่ำ ธมฺมกาโม (เขียนลายมือ) รูปภาพ [คาถาบารมีสิบทัศ อักขระขอม] | ||
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
เรื่อง ข้อวัตรที่เกาะหมาก
หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่ได้มาอยู่เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นเวลา ๗ เดือน มีสามเณรติดตาม ๑ ฆราวาส ๑ มีประชากร ๑๐๐ หลังคาเรือน เกาะหมากเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดตราด ห่างจากฝั่งประมาณ ๓๘ กิโลเมตร ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมร เชื้อชาติไทย มีอาชีพหลักทำสวนยางพาราและสวนมะพร้าวชาวบ้านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ชาวบ้านจะตั้งเวลาให้ ถ้าไม่ถึง ๘ โมงเช้า อย่ามาบิณฑบาต เพราะชาวสวนออกไปกรีดยางพาราตั้งแต่ตี ๔ กว่าจะกลับบ้านหุงข้าวก็สาย ชาวบ้านตักบาตรเช้าด้วยข้าวสวย ไม่มีข้าวเหนียว หลวงปู่ฉันเช้าแล้วมีข้าวเหลือ จึงนำเศษข้าวมาเลี้ยงนกเอี้ยงซึ่งมีจำนวนมาก ชาวบ้านเห็นเสียดายข้าว จึงลดข้าวที่เคยตักบาตรลง จาก ๖ ทัพพี เหลือ ๓ ทัพพี จะได้ไม่ต้องเหลือข้าวมาเลี้ยงนกเอี้ยง แต่หลวงปู่ ก็ยังคงแบ่งข้าวไว้เลี้ยงนกเอี้ยงอยู่ดี
หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่ได้มาอยู่เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นเวลา ๗ เดือน มีสามเณรติดตาม ๑ ฆราวาส ๑ มีประชากร ๑๐๐ หลังคาเรือน เกาะหมากเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดตราด ห่างจากฝั่งประมาณ ๓๘ กิโลเมตร ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมร เชื้อชาติไทย มีอาชีพหลักทำสวนยางพาราและสวนมะพร้าวชาวบ้านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ชาวบ้านจะตั้งเวลาให้ ถ้าไม่ถึง ๘ โมงเช้า อย่ามาบิณฑบาต เพราะชาวสวนออกไปกรีดยางพาราตั้งแต่ตี ๔ กว่าจะกลับบ้านหุงข้าวก็สาย ชาวบ้านตักบาตรเช้าด้วยข้าวสวย ไม่มีข้าวเหนียว หลวงปู่ฉันเช้าแล้วมีข้าวเหลือ จึงนำเศษข้าวมาเลี้ยงนกเอี้ยงซึ่งมีจำนวนมาก ชาวบ้านเห็นเสียดายข้าว จึงลดข้าวที่เคยตักบาตรลง จาก ๖ ทัพพี เหลือ ๓ ทัพพี จะได้ไม่ต้องเหลือข้าวมาเลี้ยงนกเอี้ยง แต่หลวงปู่ ก็ยังคงแบ่งข้าวไว้เลี้ยงนกเอี้ยงอยู่ดี
| ||